รถยางแตกเป็นปัญหาที่ผู้ขับขี่ทุกคนไม่อยากเผชิญ เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ควบคุมสถานการณ์ได้ยากลำบาก ทั้งจากอาการตกใจของผู้ขับขี่และการเคลื่อนไหวของรถที่ผิดปกติแบบฉับพลัน ไม่แปลกเวลาพบเห็นรถยางแตกบนท้องถนนมักนำไปสู่อุบัติเหตุรถพลิกคว่ำหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่นำไปสู่ความสูญเสีย เพื่อลดโอกาสรถยางแตกข้างทางที่นำไปสู่อุบัติเหตุบนท้องถนน บทความนี้ขอพาทุกคนไปหาคำตอบกันว่าสาเหตุที่ทำให้รถยางแตกเกิดจากอะไร รวมทั้งวิธีป้องกันที่คนมีรถควรรู้
รถยางแตกเกิดจากอะไร
ปัญหารถยางแตกสามารถเกิดขึ้นกับยานพาหนะที่ใช้ล้อในการเคลื่อนที่ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นรถกระบะ รถเก๋ง รถขับเคลื่อน 4 ล้อ หรือรถมอเตอร์ไซค์ แต่ถึงอย่างนั้นเหตุการณ์รถยางแตกไม่ได้เกิดขึ้นกับรถทุกคัน เพราะถ้ามีการตรวจเช็กยางรถอย่างสม่ำเสมอก็จะพบความผิดปกติบนเนื้อยางและหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที อย่างไรก็ดีรถยางแตกเกิดขึ้นจากหลายปัจจัย ดังนี้
- ยางรถยนต์เสื่อมสภาพ : ควรเปลี่ยนยางเมื่อใช้งาน 2 – 3 ปี หรือ 30,000 กิโลเมตร สังเกตจากรอยแตกลายงา ยางบวม หรือดอกยางจาง การใช้ยางเสื่อมสภาพเพิ่มความเสี่ยงยางแตกระหว่างเดินทาง จึงควรเปลี่ยนยางใหม่ทันทีเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้ร่วมทาง
- เติมลมยางไม่ถูกต้อง : ทั้งการเติมลมยางน้อยหรือมากเกินไป ล้วนเพิ่มความเสี่ยงยางระเบิด เพราะลมยางน้อยทำให้หน้ายางสัมผัสถนนมากเกินไป เกิดความร้อนสูง ส่วนลมยางมากทำให้ยางแตกง่ายเมื่อกระแทกหลุมบ่อ ควรตรวจสอบ และเติมลมยางให้เหมาะสมตามคำแนะนำของผู้ผลิต
- เหยียบของมีคม : วัตถุอันตรายบนถนน เช่น ตะปู เหล็กเส้น นอต หรือแผ่นเหล็กปิดท่อน้ำ อาจทำให้ยางรั่ว นำไปสู่การเสียดสีกับพื้นผิวถนนและยางแตกได้ ควรขับขี่ด้วยความระมัดระวังและพยายามหลีกเลี่ยงเศษวัสดุบนถนน
- บรรทุกของไม่เกินมาตรฐาน : การบรรทุกหนักเกินในรถเก๋ง หรือติดตั้งราวเหล็กเสริมบนกระบะเพื่อบรรทุกของเพิ่ม ทำให้ยางรับแรงกดทับและเสียดสีมากขึ้น เกิดความร้อนสูงจนยางอาจแตกได้ จึงควรบรรทุกไม่เกินน้ำหนักที่กำหนด และใช้รถให้เหมาะสมกับงาน
- ขับรถลงหลุมขนาดใหญ่ : การขับรถบนถนนขรุขระ หรือมีหลุมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะเมื่อใช้ความเร็วสูง อาจทำให้ยางผิดรูปกะทันหัน เกิดอาการบวม และนำไปสู่ยางระเบิดได้ จึงควรลดความเร็วเมื่อพบถนนไม่เรียบ และพยายามหลีกเลี่ยงหลุมบ่อขนาดใหญ่
5 วิธีรับมือรถยางแตกขณะขับขี่
เมื่อเผชิญกับสถานการณ์รถยางแตกขณะขับขี่ ผู้ใช้รถหลายคนอาจรู้สึกตกใจ และไม่รู้วิธีรับมืออย่างถูกต้อง การเรียนรู้วิธีรับมือสถานการณ์รถยางแตกจึงสำคัญอย่างมาก ซึ่งวิธีที่ควรทำ มีดังนี้
1. พยายามรักษาความเร็วและทิศทางของรถ
เมื่อยางแตก ให้จับพวงมาลัยให้แน่น รักษาทิศทางของรถให้ตรง และค่อย ๆ ปล่อยคันเร่ง อย่าเบรกกะทันหัน เพราะอาจทำให้รถเสียการทรงตัว แต่ควรปล่อยให้รถลดความเร็วลงเองอย่างช้า ๆ โดยควบคุมทิศทางไม่ให้เบนออกนอกเลน
2. เปิดไฟฉุกเฉินและหาที่จอดปลอดภัย
เปิดไฟฉุกเฉินทันทีเพื่อเตือนรถคันอื่น มองหาพื้นที่ปลอดภัยสำหรับจอดรถ เช่น ไหล่ทาง หรือจุดจอดฉุกเฉิน ค่อย ๆ เลี้ยวรถเข้าจอด โดยระวังไม่ให้กะทันหัน เมื่อจอดแล้วให้ดับเครื่องยนต์ แต่ยังคงเปิดไฟฉุกเฉินไว้
3. อยู่ในรถและโทรขอความช่วยเหลือ
หลังจากจอดรถในที่ปลอดภัยแล้ว ให้อยู่ในรถและโทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประกันรถยนต์ บริษัทช่วยเหลือฉุกเฉิน หรือตำรวจทางหลวง แจ้งตำแหน่งที่อยู่ให้ชัดเจน และรอการช่วยเหลืออย่างปลอดภัยในรถ
4. ใช้อุปกรณ์เตือนภัยเพื่อเพิ่มความปลอดภัย
หากมีอุปกรณ์เตือนภัย เช่น กรวยจราจร หรือสามเหลี่ยมสะท้อนแสง ให้นำมาวางด้านหลังรถในระยะที่เหมาะสม เพื่อเตือนรถคันอื่นให้ระวัง ทำเช่นนี้เฉพาะเมื่อแน่ใจว่าปลอดภัยที่จะออกจากรถ มิฉะนั้นให้อยู่ในรถและรอความช่วยเหลือ
5. เปลี่ยนยางอะไหล่เมื่อปลอดภัย
หากมีทักษะและอุปกรณ์พร้อม สามารถเปลี่ยนยางอะไหล่ได้เองเมื่อสถานการณ์ปลอดภัย แต่ต้องระมัดระวังและปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างถูกต้อง หากไม่มั่นใจ ควรรอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการเดินทางต่อไป
อาการเสี่ยงแบบไหนที่จับสังเกตได้ก่อนรถยางแตก
บรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐาน
ปัจจุบันมีผู้ขับขี่จำนวนไม่น้อยที่บรรทุกหนักจนเกินมาตรฐาน อาจเพราะมีเหตุจำเป็นต้องใช้รถเก๋งขนของย้ายหอพัก หรือขนของเพื่อไปจัดอีเวนต์นอกสถานที่ ยังไม่รวมถึงกระบะที่มักติดตั้งราวเหล็กเสริมด้านหลังกระบะเพื่อช่วยให้สามารถที่จะบรรทุกสัมภาระขนส่งได้มากยิ่งขึ้น เมื่อต้องบรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐานเป็นประจำส่งผลให้ยางได้รับแรงกดทับมากกว่าเดิม และทำให้เกิดการเสียดสีกับพื้นผิวถนนมากขึ้นจนก่อให้เกิดความร้อนและยางแตกนั่นเอง
ขับรถลงหลุมขนาดใหญ่
การขับรถในเส้นทางที่มีสภาพพื้นผิวขรุขระหรือหลุมขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อยางรถยนต์ได้ไม่น้อยโดยเฉพาะผู้ที่ขับรถด้วยความเร็วสูง เพราะเวลายางรถลงในหลุมด้วยความเร็วและแรงอาจทำให้ยางเกิดอาการผิดรูปอย่างรวดเร็วจนยางบวมและทำให้ยางระเบิดในที่สุด
อาการแบบไหนที่เสี่ยงรถยางแตก
ก่อนที่จะเกิดเหตุรถยางแตก ส่วนใหญ่จะมีสัญญาณเตือนจากอาการต่าง ๆ ในระหว่างขับขี่ ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจไม่เคยรู้มาก หรือเคยเจออาการแปลก ๆ แต่ไม่รู้ว่ามีต่อการขับขี่อย่างไร ซึ่ง Pirelli ได้ลิสต์อาการเสี่ยงรถยางแตกเอาไว้ดังนี้
- พวงมาลัยหนักกว่าปกติ หักเลี้ยวได้อย่างลำบาก หรือรถมีอาการส่ายจนไม่สามารถควบคุมทิศทางรถได้
- รู้สึกถึงแรงสะท้อนจากช่วงล่างรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากยางแบนหรือยางบวม
- เหยียบคันเร่งแล้วรถยังคงเคลื่อนตัวไปด้านหน้าได้ช้าจนผิดสังเกต ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ยางรถมีความเสี่ยงจะแตกหรือระเบิด
- มีเสียงดังผิดปกติออกมาจากล้อหรือยางขณะวิ่งบนเส้นทางเรียบ แนะนำให้หยุดรถและสำรวจดูช่วงล่างว่ามีความผิดปกติตรงจุดไหนหรือไม่ สภาพยางทั้ง 4 ล้ออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานจริง แต่ถ้าไม่พบความผิดปกติ ควรนำรถไปตรวจสภาพอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุของปัญหา
เมื่อรถยางแตกระหว่างทาง ต้องทำอย่างไร
รถยางแตก หรือยางระเบิดไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ง่าย อีกทั้งก่อนรถยางแตกอาจมีสัญญาณเตือนให้ผู้ขับขี่รู้ตัว เช่น พวงมาลัยหนัก เร่งเครื่องไม่ขึ้น หรือรถมีอาการส่ายก่อนยางแตก กรณีนี้ให้ผู้ขับขี่จับพว’มาลัยให้มั่นคง ไม่ให้ส่ายรถไปตามสภาพของล้อข้างที่ระเบิด แล้วคอยแตะเบรกย้ำไปเรื่อย ๆ จนสามารถชะลอความเร็วรถลงได้ หากไม่มีรถขับตามหลังมาให้รีบเปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินแล้วนำรถหลบเข้าข้างทางเพื่อทำการเปลี่ยนยางสำรอง หากไม่มียางอะไหล่แนะนำให้ลองค้นหาศูนย์บริการที่รับเปลี่ยนยางรถยนต์นอกสถานที่ โดยวิธีนี้สามารถใช้ได้ทั้งเมื่อเกิดเหตุรถยางแตกกลางทางหรือรถยางแตกกลางคืน
วิธีป้องกันรถยางแตกระหว่างทาง
ก่อนที่จะเกิดเหตุรถยางแตก ส่วนใหญ่จะมีสัญญาณเตือนจากอาการต่าง ๆ ในระหว่างขับขี่ ซึ่งคนส่วนใหญ่อาจไม่เคยรู้มาก หรือเคยเจออาการแปลก ๆ แต่ไม่รู้ว่ามีต่อการขับขี่อย่างไร ซึ่ง Pirelli ได้ลิสต์อาการเสี่ยงรถยางแตกเอาไว้ ดังนี้
- พวงมาลัยหนักกว่าปกติ หักเลี้ยวได้อย่างลำบาก หรือรถมีอาการส่ายจนไม่สามารถควบคุมทิศทางรถได้
- รู้สึกถึงแรงสะท้อนจากช่วงล่างรถยนต์ ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากยางแบนหรือยางบวม
- เหยียบคันเร่งแล้วรถยังคงเคลื่อนตัวไปด้านหน้าได้ช้าจนผิดสังเกต ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ยางรถมีความเสี่ยงจะแตกหรือระเบิด
- มีเสียงดังผิดปกติออกมาจากล้อหรือยางขณะวิ่งบนเส้นทางเรียบ แนะนำให้หยุดรถและสำรวจดูช่วงล่างว่ามีความผิดปกติตรงจุดไหนหรือไม่ สภาพยางทั้ง 4 ล้ออยู่ในสภาพพร้อมใช้งานจริง แต่ถ้าไม่พบความผิดปกติ ควรนำรถไปตรวจสภาพอย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุของปัญหา
ดูแลรถอย่างไรให้ห่างไกลปัญหารถยางแตกกลางทาง
เมื่อรู้ถึงสาเหตุ และวิธีป้องกันไปแล้ว เชื่อว่าผู้ใช้รถหลายคนน่าจะอยากรู้กันต่อว่า ควรจะดูแลรถอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุรถยางแตกกลางทาง เรามาดูกันดีกว่า
- เช็กความดันลมยาง : การเติมลมยางให้เหมาะสมกับประเภทรถและการใช้งาน นอกจากไม่สิ้นเปลืองพลังงาน ยังเป็นการยืดอายุการใช้งานยางให้ยาวนานขึ้น ดังนั้นผู้ขับขี่ควรตรวจเช็กความดันลมยางเป็นประจำทุกเดือน ก่อนออกเดินทางไกล หรือเมื่อต้องบรรทุกน้ำหนักมาก หากไม่มั่นใจว่าความดันลมยางเท่าไหร่ถึงเหมาะกับรถที่ใช้งาน สามารถดูรายละเอียดความดันลมยางมาตรฐานของรถยนต์ได้จากแผ่นป้ายบริเวณขอบประตูฝั่งคนขับหรือจากคู่มือประจำรถ
- ไม่ใช้ยางเสื่อมสภาพ : หากสังเกตเห็นว่ายางรถยนต์ที่ใช้งานอยู่ มีรอยแตกลายงา อาการบวม มีรอยบาด ดอกยางจาง หรือใช้งานมากกว่า 30,000 กิโลเมตร ลักษณะเหล่านี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพยางและความปลอดภัย แนะนำให้เปลี่ยนยางเส้นใหม่ โดยเลือกยางที่มีมาตรฐานการผลิตที่ดี มีปีการผลิตที่ไม่เก่าจนเกินไป และมีการจัดเก็บรักษายางที่ดี
- ขับขี่ด้วยความระมัดระวัง : สุดท้าย คือเรื่องของพฤติกรรมการขับขี่ ควรใช้ความเร็วที่พอเหมาะไม่ประมาทหวาดเสียว เพื่อให้คุณสามารถควบคุมรถได้อย่างแม่นยำ พยายามไม่เบรกหรือเร่งความเร็วกะทันหัน จะช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุไม่ส่งผลกระทบต่อตัวยาง ปลอดภัยต่อตัวคุณเองและเพื่อร่วมทาง
รถยางแตกระหว่างทาง โทรแจ้งใครได้บ้าง
เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยางแตกระหว่างทาง และไม่สามารถเปลี่ยนยางอะไหล่เองได้สามารถโทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ ดังนี้
- แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย โทร. 191 หรือ 1190
- ตำรวจทางหลวง หรืออุบัติเหตุบนทางหลวง โทร. 1193
- ศูนย์ความปลอดภัยกรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
- การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โทร. 1543
- สายด่วนมอเตอร์เวย์ โทร. 1586
- สายด่วนอุบัติเหตุ โทร. 02-711-9161 หรือ 02-711-9162
- สายด่วนร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677
- สถานีวิทยุ จส. 100 โทร. 1137
- สถานีวิทยุ สวพ. 91 โทร. 1644
รถยางแตกเคลมประกันได้ไหม
เมื่อเกิดเหตุรถยางแตก นอกจากการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ผู้ใช้รถหลายคนอาจสงสัยว่าสามารถเคลมประกันได้หรือไม่ การเคลมประกันยางรถยนต์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งระดับของประกันและสาเหตุของความเสียหาย มาดูกันว่าแต่ละกรณีมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง
ประกันชั้น 1
- คุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุ เช่น รถชน ยางเบียดฟุตบาท หรือขับตกหลุม
- ชดเชยตามสภาพของยาง โดยคิดค่าเสื่อมราคา (ประมาณ 50% ของราคายางใหม่)
- ครอบคลุมมากกว่าประกันชั้นอื่น ๆ
ประกันชั้น 2+ และ 3+
- คุ้มครองเฉพาะกรณีเกิดอุบัติเหตุที่มีคู่กรณี เช่น รถชนกันแล้วทำให้ยางเสียหาย
- ไม่คุ้มครองกรณีอุบัติเหตุที่เกิดจากตัวผู้ขับเอง เช่น ขับตกหลุม หรือยางระเบิดเอง
ประกันชั้น 2 และ 3
- ไม่มีความคุ้มครองในส่วนของยางรถยนต์
- ผู้ขับขี่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดหากยางเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม
ข้อควรระวัง
- ตรวจสอบเงื่อนไขการคุ้มครองในกรมธรรม์อย่างละเอียด
- บางบริษัทประกันอาจมีเงื่อนไขพิเศษเพิ่มเติม เช่น จำกัดจำนวนครั้งในการเคลม
- เก็บหลักฐานความเสียหายไว้เสมอ เช่น ภาพถ่ายหรือใบเสร็จค่าซ่อม เพื่อประกอบการเคลม
สรุปเกี่ยวกับปัญหารถยางแตกระหว่างทาง
รถยางแตกอาจฟังดูน่ากลัวแต่ถ้าผู้ขับขี่มีสติและรับมือปัญหาตรงหน้าอย่างใจเย็นจะช่วยให้รอดพ้นจากสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างปลอดภัย ส่วนใครที่สงสัยว่า รถยางแตกขับต่อได้ไหม ? คำตอบคือ ไม่ควรทำ เพราะการวิ่งบดไปที่ร้านซ่อม อาจทำให้ล้อรถได้รับความเสียหายมากกว่าเดิม แนะนำให้นำรถเข้าจอดข้างทางแล้วตามช่างมาเปลี่ยนยางจะปลอดภัยกว่า และเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดยางแตก การเลือกยางให้ถูกขนาด เหมาะสมกับน้ำหนักและประเภทรถ รวมถึงมาพร้อมเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง Seal Inside เทคโนโลยีของแบรนด์ Pirelli ที่ถูกออกแบบมาเพื่อความสะดวกสบายและความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนน เพราะช่วยให้ผู้ขับขี่ไม่ต้องหยุดรถหลังจากยางรั่ว
หากคุณมองหายางรถยนต์นวัตกรรมสุดล้ำ ทาง Pirelli มียางหลากหลายรุ่นที่ตอบโจทย์รถทุกประเภทให้เลือกซื้อมาใช้งานกับรถคันโปรด นอกจากเป็นยางได้มาตรฐานโลกและยังมีบริการดูแลหลังการขายที่ยอดเยี่ยมด้วยประกันยางบาด ยางบวม ยางแตก ที่สามารถเคลมฟรี 1 ปี หรือระยะทาง 25,000 กิโลเมตรโดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขของบริษัท สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่อินบอกซ์เฟซบุ๊ก ATV – Pirelli Authorized Distributor