Pirelli Thailand by ATV เช็คราคายานยนต์ ออนไลน์

ผ้าเบรครถยนต์ใช้ได้กี่ปี เรื่องที่คนมีรถควรรู้

หากเอ่ยถึงอุปกรณ์ในรถยนต์ที่ทำหน้าที่ชะลอความเร็วหรือหยุดรถอย่างปลอดภัย หลายคนย่อมนึกถึงผ้าเบรครถยนต์อุปกรณ์ที่สำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่ เมื่อเบรคคือหัวใจสำคัญต่อการขับขี่และช่วยให้รถเบรคได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้เกิดคำถามตามมามากมาย หนึ่งในนั้นคือผ้าเบรครถยนต์ควรเปลี่ยนตอนไหน แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าผ้าเบรคเริ่มเสื่อมสภาพ วันนี้เราได้รวบรวมวิธีการสังเกตผ้าเบรคในเบื้องต้นมาฝาก

ระบบเบรครถยนต์มีกี่ประเภท มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

ตามที่ทราบกันดีว่า เบรค (Break) เป็นระบบที่ช่วยในการบังคับและควบคุมยานพาหนะให้สามารถชะลอความเร็วลงได้อย่างปลอดภัย แต่หลายคนอาจยังไม่รู้ว่าระบบเบรครถยนต์ที่ใช้งานกันมากที่สุดในปัจจุบัน มีอยู่ 2 ประเภท คือ

(1) ดิสก์เบรค (Disc Brake)

เป็นระบบเบรคที่นิยมใช้กันแพร่หลายในรถรุ่นใหม่ ๆ อยู่ที่ว่าจะใช้ดิสก์เบรคแบบ 2 ล้อหน้า หรือทั้ง 4 ล้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ ส่วนกระบวนการทำงานก็คือเมื่อผู้ขับขี่เหยียบเบรค น้ำมันไฮดรอลิกในคาลิปเปอร์จะดันผ้าเบรคแต่ละแผ่นเข้าไปที่จานเบรค เพื่อทำให้รถชะลอความเร็วหรือหยุดรถได้อย่างปลอดภัย

ข้อดี

  • ตอบสนองต่อการหยุดรถได้ดีและรวดเร็ว
  • ระบายความร้อน และระบายน้ำได้ดี
  • บำรุงรักษาง่าย

ข้อเสีย

  • ใช้กำลังในการหยุดรถน้อยกว่าระบบดรัมเบรค จึงไม่เหมาะกับรถบรรทุกหนัก
  • มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสูง
  • ผ้าเบรคหมดไว ทำให้ต้องเปลี่ยนผ้าเบรคบ่อย ๆ
ชุดผ้าเบรค
ผ้าเบรคเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญของระบบเบรค

(2) ดรัมเบรค (Drum Brake)

เป็นระบบเบรคแบบไฮดรอลิกที่ยังสามารถพบเห็นได้ในรถยนต์และรถบรรทุก โดยทุกครั้งที่ผู้ขับขี่แตะเบรค ผ้าเบรคด้านในจะถูกแม่ปั๊มดันให้ไปติดกับด้านในของฝาครอบเบรคที่ถูกยืดติดอยู่กับล้อรถ เพื่อสร้างแรงเฉื่อยให้กับรถชะลอความเร็วหรือหยุดรถ

ข้อดี

  • ไม่ต้องใช้แรงเหยียบเบรคมาก ก็สามารถชะลอความเร็วและหยุดรถได้
  • มีกำลังหยุดรถสูง เหมาะกับรถที่ใช้บรรทุกของหนัก ๆ

ข้อเสีย

  • มีความร้อนสะสมสูง ถ่ายเทความร้อนได้ยาก
  • การตอบสนองการเบรคค่อนข้างช้า

ผ้าเบรคควรเปลี่ยนเมื่อใด ? มีสัญญาณเตือนอะไรบ้าง

สำหรับใครที่สงสัยว่า ผ้าเบรครถยนต์ใช้ได้กี่ปี หรือผ้าเบรค ควรเปลี่ยนที่กี่กิโลเมตร คำตอบคือ โดยปกติแล้วผ้าเบรคจะมีอายุการใช้งานประมาณ 60,000 – 80,000 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับประเภทและยี่ห้อของผ้าเบรคที่เลือกใช้ รวมถึงพฤติกรรมและเส้นทางขับขี่ด้วย แต่ถ้าขับรถแล้วเกิดความรู้สึกแบบนี้ แสดงว่าผ้าเบรคเริ่มเสื่อมสภาพและถึงเวลาที่ควรจะเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ โดยมีสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้

(1) มีอาการเบรคต่ำหรือต้องกดแป้นเบรคลึกมากขึ้น ถึงสามารถชะลอความเร็วรถได้

(2) พวงมาลัยสั่นเมื่อเหยียบเบรค เป็นอาการที่เกิดจากผ้าเบรคเริ่มสึก จึงสัมผัสกับจานเบรคไม่สม่ำเสมอ ทำให้เวลาเหยียบเบรคผู้ขับขี่จะรู้สึกว่าพวงมาลัยมีอาการสั่นจนผิดปกติ

(3) มีไฟเบรคมือขึ้นโชว์ที่หน้าปัดทั้งที่ไม่ได้ยกเบรคมือ เนื่องจากน้ำมันเบรคในกระปุกอยู่ต่ำกว่าขีด MIN เพราะผ้าเบรคที่บางลง

(4) เบรคแล้วมีเสียงดังผิดปกติ โดยอาจมีเสียงเหมือนเหล็กเสียดสีกันทุกครั้งที่เหยียบเบรค เกิดผ้าเบรคบางลงหรือเหลือน้อยจนเหล็กที่ยึดจับผ้าเบรคไปเสียดสีกับจานเบรคโดยตรง

(5) เบรคแล้วมีกลิ่นไหม้ แม้อาการนี้พบได้บ่อยเวลาขับรถขึ้นเขา ขับรถลงเขาซึ่งมักมีเนินหรือทางโค้งชันทำให้ต้องเหยียบเบรคบ่อยครั้ง แต่ถ้าขับรถทางเรียบแล้วมีเหตุให้ต้องเบรคกะทันหัน หากเบรคแล้วมีกลิ่นไหม้นั้นอาจแสดงว่าผ้าเบรคเริ่มหมดอายุก็ได้ ควรนำรถเข้าศูนย์บริการรถยนต์หรืออู่ซ่อมรถใกล้บ้านเพื่อเช็กและทำการเปลี่ยนผ้าเบรคใหม่ทันที

(6) หากดึงเบรคมือแล้วรู้สึกว่าต้องดึงเบรคมือให้สูงกว่าปกติถึงรู้สึกว่ารถจอดสนิท นั่นแสดงว่าผ้าเบรคเริ่มบาง ควรเข้าไปทำการเช็กโดยด่วน

แนะวิธีถนอมผ้าเบรคแบบง่าย ๆ ช่วยยืดอายุการใช้งาน

ดึงเบรคมือ
การเบรครถฉุกเฉินเป็นประจำ ทำให้ผ้าเบรคบางลงเรื่อย ๆ

(1) หมั่นทำความสะอาดจานเบรคอย่างสม่ำเสมอ เพราะจานเบรคเป็นอีกจุดที่มีเศษฝุ่นเศษดินมาเกาะติด ถ้าปล่อยไว้โดยไม่ล้างเลยฝุ่นก็จะแข็งตัว ทำให้เวลาเหยียบเบรคแล้วจะกินผ้าเบรคมากขึ้น

(2) ไม่ควรเบรคกะทันหันหรือฉุกเฉินบ่อย เนื่องจากถือเป็นการเบรครุนแรงที่ส่งผลโดยตรงต่อผ้าเบรคและจานเบรค ยิ่งเหยียบเบรคฉุกเฉินบ่อย ๆ จะทำให้ผ้าเบรคยังสึกเร็วกว่าปกติ

(3) ตรวจเช็คผ้าเบรคทุก ๆ 3 เดือน หรือ 10,000 กิโลเมตร แต่ถ้าเหยียบเบรคแล้วรู้สึกว่าแป้นเหยียบต่ำกว่าปกติ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผ้าเบรคหมด แล้วรีบนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจเช็คความเรียบร้อย

(4) เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรค ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรคทุก ๆ 1 ปี หรือ 40,000 กิโลเมตร เพื่อความปลอดภัยในการขับขี่และป้องกันสนิม

(5) ขับรถให้ช้าลง เพราะการขับรถเร็วแล้วเหยียบแป้นเบรคอย่างรวดเร็วเป็นการสร้างแรงเสียดทานและความร้อนจำนวนมากให้กับผ้าเบรค เป็นผลให้ผ้าเบรคมีอายุการใช้งานที่น้อยลง

(6) เช็กลมยางให้เหมาะสม เนื่องจากลมยางส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบเบรคต่าง ๆ ถ้าความดันลมยางมากหรือน้อยเกินไปอาจทำให้ผ้าเบรคทำงานหนักกว่าเดิม

(7) นำสัมภาระที่ไม่เป็นจำออกจากรถก่อนเดินทางทุกครั้งเพื่อลดน้ำหนักบรรทุก เพราะการขับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกมากอาจทำให้ผ้าเบรคทำงานหนักขึ้น

มาถึงตรงนี้คงทราบกันแล้วว่าผ้าเบรครถยนต์ควรเปลี่ยนตอนไหน มีสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่ผู้ขับขี่ควรรู้ นอกเหนือจากการตรวจสอบและการเปลี่ยนผ้าเบรคตามระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ยางรถยนต์เป็นอีกชิ้นส่วนที่มีความสำคัญที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนรถยนต์ อีกทั้งยางที่ทำหน้าที่ในการควบคุมรถเช่นเดียวกับระบบเบรค ฉะนั้นผู้ขับขี่ควรหมั่นตรวจเช็คสภาพของยางรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงทางรถยนต์ หากพบว่ายางรถยนต์สึกหรอหรือยางบวมอย่าปล่อยไว้ ควรรีบเปลี่ยนยางชุดใหม่ทันที

สำหรับใครที่กำลังมองหายางเส้นใหม่คุณภาพดี ทั้งมาพร้อมบริการหลังการขายดีเยี่ยมอย่างการประกันยางรถยนต์ ขอแนะนำยางรถยนต์ Pirelli ที่มีมาตรฐานการผลิตระดับโลก ใช้งานได้ยาวนาน สามารถเลือกซื้อผ่าน Pirelli by ATV เพื่อรับการประกันยางรถยนต์ 1 ปี หรือ 25,000 กิโลเมตรในกรณียางบาด ยางบวม และยางแตก ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด สอบถามเพิ่มเติมทางเว็บไซต์ หรือเฟซบุ๊ก Pirelli in Thailand by ATV

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า