ใบสั่งจราจร กฎการอยู่ร่วมกันของผู้ใช้รถใช้ถนน
หากใครใช้รถใช้ถนนไม่เป็นไปตามกฎหมายที่มีร่วมกัน อาจโดนเจ้าหน้าที่ตำรวจโบกรถเรียกไปคุยและออกใบสั่งกัน โดยเรื่องที่มักทำให้โดนใบสั่งมีทั้งเรื่องขับรถเร็วเกินกำหนด จอดรถในที่ห้ามจอด หรือตกแต่งรถในตำแหน่งที่กฎหมายไม่อนุญาต แน่นอนว่าถ้าเดินทางไปจ่ายค่าปรับตามปกติคงไม่มีปัญหาอะไรตามมา แต่ในทางกลับกันหากไม่จ่ายเงินค่าปรับจะต้องเจอกับปัญหาอะไรบ้าง ส่งผลเสียจนทำให้ต่อใบขับขี่และต่อภาษีรถยนต์ไม่ได้จริง ตามมาหาคำตอบกัน
ใบสั่งค่าปรับจราจร มีกี่ประเภท รู้ไว้ไม่เสียหาย
โดยปกติแล้วจะได้เห็นภาพที่ตำรวจยืนเขียนใบสั่งให้กับผู้ทำผิดกฎจราจรกันอยู่บ่อยครั้ง แต่จริง ๆ แล้วปัจจุบันการออกค่าปรับจราจรสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
- ใบสั่งเขียนด้วยลายมือ
เป็นประเภทใบสั่งที่พบเห็นกันมานาน โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะใช้วิธีเขียนใบสั่งให้ผู้ทำผิดกฎหมายจราจรนำไปเสียค่าปรับ ซึ่งในอดีตต้องเดินทางไปจ่ายกันที่สถานีตำรวจแต่ละท้องถิ่น
- ใบสั่งส่งทางไปรษณีย์
ใบสั่งประเภทส่งผ่านทางไปรษณีย์เป็นกรณีการถูกตรวจจับด้วยกล้อง เช่น การขับขี่ด้วยความเร็วเกินกำหนด การเปลี่ยนเลนเส้นทึบ เป็นต้น โดยนับตั้งแต่วันที่ส่งไปรษณีย์ หากพ้น 15 วันจะถือว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถยนต์ได้รับใบสั่งแล้ว
- ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์
เป็นใบสั่งชนิดที่ออกมาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผลแบบพกพา ซึ่งมีการติดตั้งแอปพลิเคชันของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยทางตำรวจสามารถพิมพ์ใบสั่งออกมาสำหรับความผิดซึ่งหน้าได้ทันที เช่นเดียวกับการเขียนด้วยลายมือ เช่น การไม่สวมหมวกกันน็อก ขับรถย้อนศร เป็นต้น
จ่ายค่าปรับจราจรภายในกี่วัน หลังได้รับใบสั่ง
หากไม่จ่ายค่าปรับภายใน 7 วัน จะถูกออกใบเตือนทางไปรษณีย์ภายใน 15 วัน และให้เวลาอีก 15 วันในการจ่ายค่าปรับ รวมแล้วจะมีเวลาประมาณ 30 วันในการจ่ายค่าปรับ หากไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยไร้เหตุผลอันสมควร อาจต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
นอกจากนี้หากทำผิดกฎจราจรอาจถูกตัดแต้มด้วย ถ้าถูกตัดคะแนนจนเหลือ 0 คะแนน จะถูกพักใบขับขี่ 90 วัน ทั้งนี้ผู้ขับขี่ต้องเข้ารับการอบรมกับกรมการขนส่งทางบกเพื่อขอคะแนนคืน
เช็กใบสั่งจริงหรือปลอม ตรวจสอบไม่ยาก
ก่อนหน้านี้มีผู้ขับขี่หลายคนที่เจอกับปัญหาและตั้งข้อสงสัยว่าใบสั่งที่ได้รับมาคือของจริงหรือไม่ เพราะหวาดกลัวว่าเป็นการสวมรอยจากเหล่ามิจฉาชีพ เพื่อให้คลายกังวลตามมาดูวิธีเช็กกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
- เช็กด้วยการสแกน QR CODE
ขั้นตอนเบื้องต้นสำหรับการตรวจสอบว่าใบสั่งเป็นของจริงหรือไม่ สามารถเข้าแอปพลิเคชันธนาคารและสแกนที่ QR CODE ได้เลย โดยชื่อบัญชีจุดหมายปลายทางต้องเป็น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ – ค่าปรับจราจร และยอดค่าปรับต้องตรงตามใบสั่งด้วย
- ตรวจได้ทางเว็บไซต์
สำหรับการเช็กอีกวิธีหนึ่ง คือ การเข้าสู่เว็บไซต์ https://ptm.police.go.th/eTicket/#/ ซึ่งต้องทำการลงทะเบียนก่อน โดยสามารถตรวจสอบใบสั่งจราจรได้ ทั้งหากมีข้อข้องใจหรือหลักฐานไม่ตรงกับข้อกล่าวหาก็สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้เช่นกัน
ช่องทางการจ่ายค่าปรับมีวิธีใดบ้าง
- ชำระค่าปรับต่อนายทะเบียนที่กรมขนส่งทางบก
- สถานีตำรวจทุกแห่ง
- ที่ทำการไปรษณีย์ทุกสาขา
- แอปพลิเคชันเป๋าตัง
- ธนาคารกรุงไทยทุกสาขา
- ตู้ ATM ธนาคารกรุงไทย
- เคาน์เตอร์ที่มีสัญลักษณ์ PTM (ชำระค่าปรับจราจร)
- Mobile Banking ทุกธนาคาร
- ชำระด้วยบัตรเครดิต-เดบิตผ่านทาง https://ptm.police.go.th/eTicket/#/
โดนใบสั่งไม่จ่าย ต่อภาษีหรือต่อใบขับขี่ได้หรือไม่
กรณีที่ไม่ยอมจ่ายค่าปรับและตัดสินใจไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ทางนายทะเบียนรถยนต์จะไม่ออกเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีตัวจริงให้ แต่จะให้เป็นใบเสียภาษีชั่วคราวทดแทน ซึ่งจะมีอายุการใช้งานเพียง 30 วันเท่านั้น ส่งผลให้ผู้ขับขี่ต้องไปชำระค่าปรับให้เรียบร้อยภายในช่วงเวลาดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ทางด้านผู้ขับขี่สามารถจ่ายค่าปรับที่คงค้างกับทางนายทะเบียนได้เลย หากจัดการเรียบร้อยก็สามารถรับป้ายภาษีตัวจริงมาได้ทันทีเช่นกัน
ทั้งนี้หากฝืนขับรถโดยไม่มีป้ายภาษี ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 ซึ่งกำหนดว่า รถยนต์คันที่ต่อภาษีแล้วจะต้องแสดงเครื่องหมายตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ครบถ้วน มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนน
ขณะเดียวกันด้านการต่อใบขับขี่ หากไม่มีการจ่ายค่าปรับตามใบสั่งและมีการขึ้นแจ้งอยู่ในระบบ จะไม่สามารถต่อใบขับขี่ได้เช่นกัน
เรื่องน่ารู้ก่อนต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความก้าวหน้าไปมาก ช่องทางการใช้งานออนไลน์กับหน่วยงานต่าง ๆ เริ่มมีมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในส่วนของกรมการขนส่งทางบก นั่นทำให้คุณสามารถยื่นชำระภาษีทางออกไลน์ได้ไม่ยากเย็นนัก แต่ก็มีบางเงื่อนไขสำคัญจากข้อมูลทางเว็บไซต์ DLT ที่คุณต้องรู้ ดังนี้
- เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2) รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) ที่จดทะเบียนทุกจังหวัด
- สำหรับรถประเภท รย.1 รย.2 และ รย.3 ที่มีอายุใช้งานเกิน 7 ปี นับตั้งแต่ที่วันจดทะเบียนครั้งแรกและรถ รย. 12 ที่มีอายุเกิน 5 ปี นับจากวันจดทะเบียนครั้งแรก ต้องผ่านการตรวจสภาพจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ตรอ. ก่อนชำระภาษี
- รถประเภท รย.1 รย.2 และ รย.3 มีน้ำหนักไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม หรือที่ไม่ต้องขอรับความเห็นชอบก่อนชำระค่าภาษีประจำปี
- รถที่ค้างชำระค่าภาษีประจำปีเกิน 1 ปี ต้องผ่านการตรวสอบจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.)
- ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติทุกชนิดเป็นเชื้อเพลิง
- เป็นรถที่มีสถานะทางทะเบียนหรือไม่ถูกระงับทะเบียน เนื่องจากค้างชำระค่าภาษีประจำปีติดต่อกันครบ 3 ปี
- ไม่ใช่รถที่ได้รับการยกเว้นค่าภาษีประจำปี
- ต้องไม่ใช่รถที่ถูกอายัดทะเบียน
- ชำระภาษีประจำปีล่วงหน้าไม่เกิน 90 วัน ก่อนวันครบกำหนดชำระภาษี
จะเห็นได้ว่าการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี นอกจากต้องจ่ายค่าปรับที่ค้างคาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว การยื่นต่อภาษีออนไลน์ยังต้องทำตามเงื่อนไขด้วย โดยเฉพาะเรื่องของการตรวจสภาพรถที่มีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ขับขี่ ดังนั้นจะดีแค่ไหนหากเปลี่ยนมาเลือกใช้ยาง Pirelli by ATV ตั้งแต่วันนี้ นอกจากเป็นแบรนด์ยางชั้นนำที่การันตีคุณภาพแล้ว ยางรุ่น Cinturato™ Rosso ยังทำให้คุณมั่นใจได้ในเรื่องของความปลอดภัยด้วยเทคนิคไหล่ยางลักษณะโค้งสูง เพิ่มพื้นผิวสัมผัสถนนที่ช่วยการเบรกและควบคุมรถได้สมบูรณ์แบบมากขึ้น ทั้งยังมีลายดอกยางแบบสเกลที่ช่วยสร้างความนุ่มเงียบขณะขับรถ ติดต่อสอบถามได้เลยที่ Pirelli Thailand by ATV หรืออินบอกซ์เฟซบุ๊ก m.me/PirellibyAsiatires