เรื่องเล็ก ๆ อย่างจับพวงมาลัยรถ ส่งผลต่อความปลอดภัยได้
รถยนต์มีองค์ประกอบที่ส่งเสริมการขับขี่หลายส่วน แต่ละส่วนจะทำงานประสานกัน จุดเล็ก ๆ บางจุดที่หลายคนมองข้ามอาจนำไปสู่อุบัติเหตุได้ เช่น ถอดรองเท้าขับรถ จับพวงมาลัยผิดวิธี เป็นต้น ซึ่งพวงมาลัยรถยนต์เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการขับขี่ การรู้จักวิธีจับพวงมาลัยที่ถูกต้องจึงส่งผลให้การขับขี่อยู่ในเส้นทางที่กำหนด เพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานทั้งกับตนเองและเพื่อนร่วมถนน บทเรียนการฝึกจับพวงมาลัยเป็นสิ่งที่โรงเรียนสอนขับรถ และผู้ที่หัดขับรถมือใหม่ต้องฝึกให้ชำนาญด้วย เพื่อป้องกันการหมุนพวงมาลัยผิดวิธี
วิธีการจับพวงมาลัยที่ถูกต้อง
การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องเป็นการวางตำแหน่งที่เหมาะสมของมือ เพื่อให้การทำงานของพวงมาลัยเต็มประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งสำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก (สนภ.) ได้แนะนำวิธีการจับพวงมาลัยที่ถูกต้องไว้ดังนี้
ข้อควรทำ
- จับพวงมาลัยให้กระชับ
เป็นพื้นฐานขอการจับพวงมาลัยคือการจับให้กระชับ ไม่บีบจนแน่น หรือคลายจนมือหลุดได้ง่าย รวมไปถึงระวังเวลาเหงื่อออกหรือมือเปียกที่อาจส่งผลให้พวงมาลัยลื่น ทำให้การควบคุมรถยากกว่าเดิม
- จับพวงมาลัยด้วยมือสองข้าง
การควบคุมพวงมาลัยด้วยมือ 2 ข้างจะเสถียรมากกว่าการจับพวงมาลัยข้างเดียว ควรปรับระยะห่างของเบาะกับพวงมาลัยให้พอดีดัน เพื่อให้ง่ายต่อการหมุนพวงมาลัย
- มือข้างหนึ่งอยู่ 9 นาฬิกา อีกข้างอยู่ 3 นาฬิกา
ตำแหน่งการวางมือที่จับพวงมาลัยที่ถูกต้อง คือ การวางมือข้างซ้ายให้อยู่ที่ 9 นาฬิกา และมือข้างขวาอยู่ที่ 3 นาฬิกา การจับพวงมาลัยแบบนี้มือทั้งสองข้างจะอยู่ฝั่งตรงข้ามกันพอดี ทำให้การควบคุมทิศทางทำได้ดียิ่งขึ้น
- จับพวงมาลัยให้นิ่ง
พวงมาลัยเป็นตัวกลางในการควบคุมทิศทางรถที่ออกแบบมาให้หมุนได้ง่ายเมื่อใช้งานรถอยู่ การจับพวงมาลัยไม่นิ่งจึงทำให้รถเซและเสียหลักได้ง่ายกว่าเดิม
ข้อห้าม
- ห้ามจับพวงมาลัยมือเดียว
ความชำนาญในการขับขี่อาจทำให้หลายคนประมาท การขับรถด้วยพวงมาลัยมือเดียวมีโอกาสที่รถจะเสียการควบคุมได้ง่าย ควรจับสองมือให้ถนัดจะดีกว่า
- ห้ามสอดมือใต้พวงมาลัยรถ
การหงายมือไว้ใต้พวงมาลัยรถ หรือการสอดมือเข้าไปด้านใต้พวงมาลัย ทำให้การหมุนพวงมาลัยลำบากกว่าเดิม และมีโอกาสที่การหมุนพวงมาลัยจะสะดุดหากมือลื่นหลุดจากพวงมาลัยไป
- ห้ามนั่งชิดพวงมาลัยเกินไป
บางคนตั้งเบาะให้ใกล้กับพวงมาลัยมากไป เมื่อถึงเวลาเลี้ยวก็เอนตัวมาข้างหน้าเพื่อมองรถ เป็นการเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ เพราะลำตัวอาจจะไปโดนพวงมาลัยจนหักเลี้ยวเองได้
การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องช่วยในการขับขี่อย่างปลอดภัย ควรฝึกจับพวงมาลัยให้เป็นก่อนขับรถออกถนนใหญ่ เพราะหากจับผิดวิธีจนชิน จะทำให้ฝึกจับแบบที่ถูกต้องได้ยากกว่าเดิม
ปัญหาเกี่ยวกับพวงมาลัยรถและแนวทางแก้ไข
พวงมาลัยเป็นอุปกรณ์ภายในรถยนต์ที่มีปัญหาได้และต้องการการซ่อมแซมได้ในบางครั้ง การสังเกตสัญญาณผิดปกติของพวงมาลัยรถจะช่วยให้แก้ไขได้ทันเวลา ปัญหาของพวงมาลัยรถที่มักจะพบบ่อย ได้แก่
พวงมาลัยหนัก
การออกแบบพวงมาลัยรถจะออกแบบมาให้มีน้ำหนักเบาในขณะสตาร์ทรถ เพื่อให้การควบคุมทิศทางทำได้ง่ายขึ้น หากพวงมาลัยหนักขึ้นอาจเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น
- ลมยางอ่อน ทำให้รถฝืดกว่าเดิมในเวลาเลี้ยวและขับขี่ จึงต้องใช้แรงมากขึ้นในการควบคุมรถ
- น้ำมันพวงมาลัยเพาว์เวอร์ต่ำ ทำให้การทำงานของพวงมาลัยไม่เต็มประสิทธิภาพ
- ปั๊มไฮดรอนิกเสื่อมสภาพ ทำให้พวงมาลัยหนักขึ้น มีเสียงดัง หรือเสียงหอนขณะใช้งาน
- เฟืองบังคับล้อฝืด ทำให้การบังคับทิศทางรถยากกว่าเดิม ต้องใช้แรงมากขึ้น
- ล้อไม่ได้ศูนย์ ทำให้รถเซและไถลไปข้างทาง ต้องคุมรถกลับมาบนเส้นทางบ่อยครั้ง
พวงมาลัยสั่น
การขับขี่แล้วพวงมาลัยสั่นกว่าปกติ ทำให้การคุมรถทำได้ยากก็เป็นอีกปัญหาที่พบบ่อย และไม่ควรมองข้าม โดยควรสังเกตว่าการสั่นนี้มาจากพวงมาลัยหรือรถที่สั่นจะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด หากเป็นเพราะพวงมาลัย ให้สันนิษฐานสาเหตุดังนี้
- จานเบรกผิดปกติ สังเกตได้จากหากเบรกแล้วพบว่าพวงมาลัยสั่นกว่าปกติ ให้เปลี่ยนจานเบรกทันที
- การถ่วงล้อที่ไม่ดี ทำให้ล้อรถไม่มีความสมดุลกัน ช่วงล่างจึงสั่นสะเทือนมาถึงพวงมาลัย
- ยางหรือล้อแม็กเสื่อมสภาพ ทำให้การควบคุมรถทำได้ยาก มีอาการสั่นให้เห็นเป็นระยะ ๆ
- เพลาขับไม่สมดุล อาจจะเกิดจากการกระแทกอย่างรุนแรงจนเพลาหลวม และทำให้รถสั่น รวมถึงพวงมาลัยสั่นขณะขับขี่ด้วย
พวงมาลัยมีเสียงดัง
การที่พวงมาลัยมีเสียงดังขณะขับขี่ หรือขณะเลี้ยวเป็นสัญญานอันตราย แสดงว่ามีอะไหล่หรืออุปกรณ์บางชิ้นมีปัญหา มักจะแสดงออกมาเป็นเสียงครืด ๆ ได้แก่
- ลูกหมากปลายแร็คมีปัญหา ทำให้เวลาขับกิดเสียงครืด ๆ โดยพาะเวลาขับรถเร็วจะได้ยินเสียงชัดเจนขึ้น
- การสึกหรอของแร็ค มักจะเป็นอาการที่แร็คหลวม เสียงที่เกิดจึงมาจากการที่ลมเข้าไปในช่องทางที่หลวมมากเกินไป
พวงมาลัยไม่คืน
การที่พวงมาลัยไม่คืนเกิดได้หลายสาเหตุ แต่มักจะเกิดจากช่วงล่างรถที่เสื่อมคุณภาพ ต้องมีการตรวจสอบอะไหล่และตั้งศูนย์ถ่วงล้อใหม่ สาเหตุหลัก ๆ มีดังนี้
- การดัดแปลงช่วงล่างที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้การขับขี่ยากกว่าเดิม พวงมาลัยมักจะสั่น ฝืด และไม่คืนหลังหักเลี้ยว
- ศูนย์ล้อมีปัญหา ทำให้รถเสียสมดุล มักจะไถลไปข้างทางเอง บังคับพวงมาลัยยาก มีโอกาสที่พวงมาลัยจะไม่คืน
- ความดันลมยางต่ำ ทำให้การบังคับพวงมาลัยยากและฝืด บางครั้งหมุนพวงมาลัยไปแล้ว พวงมาลัยไม่คืนก็มี
พวงมาลัยหลวม
ปัญหาพวงมาลัยหลวม หรือที่เรียกว่าพวงมาลัยฟรี เป็นการที่พวงมาลัยไม่แนบสนิทกับตัวรถ ทำให้การบังคับทิศทางทำได้ยาก ต้องใช้รอบหมุนพวงมาลัยที่มากขึ้นเพื่อเลี้ยว สาเหตุหลัก ๆ มีดังนี้
- ขันน็อตไม่แน่น สามารถแก้ไขได้ด้วยการปรับองศาพวงมาลัยให้พอดีแล้วขันน็อตให้แน่น
- ลูกหมากปลายแร็ค หรือข้อต่อพวงมาลัยมัญหา ทำให้พวงมาลัยไม่สามารถประกอบได้อย่างสมบูรณ์
การจับพวงมาลัยที่ถูกต้องนั้นส่งเสริมความปลอดภัยได้จริง เป็นท่าที่ได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ หากจับพวงมาลัยถูก บังคับรถได้ดีจะลดอุบัติเหตุในการขับขี่ แต่ไม่ใช่เพียงการจับพวงมาลัยถูกวิธีเท่านั้นที่สำคัญ การส่งเสริมการทำงานของพวงมาลัยก็จำเป็นเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของช่วงล่างรถที่ต้องแข็งแรง ทนทาน ล้อแม็กประสิทภาพดี รวมถึงยางรถยนต์ด้วย ควรรู้วิธีเลือกยางรถยนต์ และใช้ยางรถยนต์ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน หากยังไม่รู้จะใช้ยางรถยนต์ยี่ห้อไหนดี แนะนำยาง Pirelli ที่มียางให้เลือกหลายรุ่น ซัพพอร์ตการขับขี่ทุกสภาพถนน เหมาะกับรถทุกประเภท ทั้งรถใช้งานทั่วไป รถหรู รถแข่ง และรถสปอร์ต เป็นอีกตัวเลือกยางรถยนต์ระดับไฮเอนด์ที่ไม่ควรมองข้าม