พ.ร.บ. และ ประกันรถยนต์ ความเหมือนที่แตกต่าง
คนมีรถยนต์ย่อมต้องคุ้นเคยกับคำว่า พ.ร.บ. รถยนต์ และ ประกันภัยรถยนต์ เป็นอย่างดีกันอยู่แล้ว เพราะทั้งสองอย่างล้วนมีความจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องใช้รถเดินทางเป็นประจำในชีวิตประจำวัน ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนที่คาดไม่ถึง เช่น ยางแตกจนรถพุ่งชนคันอื่น ๆ ทั้ง พ.ร.บ. รถยนต์ และ ประกันภัย ต่างจะช่วยให้ผู้ถือครองผ่อนหนักเป็นเบาเรื่องค่าใช้จ่าย แต่มาดูกันว่าทั้งสองชนิดมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วแบบไหนที่กฎหมายบังคับจำเป็นต้องมีติดรถเอาไว้
พ.ร.บ. รถยนต์ คืออะไร ทำไมต้องทำติดรถ
สำหรับ พ.ร.บ. รถยนต์ คือพระราชบัญญัติที่ถูกออกมาเพื่อคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยนับเป็นการทำภาพบังคับที่ต้องต่อทุกปี เพื่อใช้คุ้มครองร่างกายของผู้ครอบครองในกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝัน มีชื่อเต็มว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ปี พ.ศ. 2535 ซึ่งจะช่วยในเรื่องค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลภายใต้เงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ส่งผลให้ผู้ขับขี่รถยนต์จำเป็นต้องทำ พ.ร.บ. ดังกล่าวและหากฝ่าฝืนนำรถขาด พ.ร.บ. มาวิ่งบนท้องถนน จะต้องโดนโทษปรับสูงสุดถึง 10,000 บาท นอกจากนี้หากไม่ต่อ พร.บ. จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์หรือรับป้ายวงกลมได้อีกด้วย
พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอย่างไรบ้าง
การประสบเหตุทางท้องถนนไม่ได้เกิดขึ้นแต่เหตุการณ์เบา ๆ อย่างชนสีขอบฟุตบาทเท่านั้น แต่มีโอกาสเกิดเหตุที่มีความรุนแรงกระทบถึงร่างกายด้วย ความคุ้มครองในส่วนนี้จะเป็นการคุ้มครองอุบัติเหตุที่มาจากรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นตัวของผู้ขับขี่เองหรือแม้แต่ผู้ที่เดินเท้า ซึ่งจะให้ความคุ้มครองต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิตและร่างกาย ไม่คุ้มครองทรัพย์สินหรือรถยนต์แต่อย่างใด โดยแบ่งได้ดังนี้
- ค่าเสียหายเบื้องต้น
ผู้ประสบภัยหรือทายาทจะได้รับเงินภายใน 7 วันเมื่อยื่นคำร้องไปแล้ว
- ค่ารักษาพยาบาลตามจริงและไม่เกินรายละ 30,000 บาท
- กรณีทุพพลภาพ พิการ ชดเชยรายละไม่เกิน 35,000 บาท
- กรณีเสียชีวิต ทายาทได้รับค่าทำศพรายละไม่เกิน 35,000 บาท
- หากได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตในเวลาต่อมา หรือพิการ จะได้รับรายละไม่เกิน 65,000 บาท
- ส่วนที่เกินความเสียหายเบื้องต้น
ส่วนนี้จะจ่ายเมื่อได้รับการพิสูจน์ความผิดเรียบร้อยแล้ว ซึ่งฝ่ายที่กระทำผิดจะต้องชดใช้ให้ผู้เสียหาย
-
- กรณีผู้ประสบภัยบาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
- กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพถาวร ขึ้นอยู่กับส่วนต่าง ๆ จะคุ้มครองอยู่ที่ 200,000 ถึง 500,000 บาทต่อคน
- กรณีเสียชีวิต จะคุ้มครองที่ 500,000 ต่อคน
- กรณีผู้ประสบภัยต้องนอนโรงพยาบาล จะได้รับค่าชดเชยวันละ 200 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20วัน หรือสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท
ประเภทรถยนต์ที่ต้องทำ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ได้แก่
- รถยนต์ นั่งไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์โดยสารเกิน 7 ที่นั่ง
- รถยนต์โดยสารเกิน 15 ที่นั่ง
- รถยนต์โดยสารเกิน 20 ที่นั่ง
- รถยนต์โดยสารเกิน 40 ที่นั่ง
- รถยนต์บรรทุกไม่เกิน 3 ตัน
- รถยนต์บรรทุกเกิน 3 ตัน
- รถยนต์บรรทุกเกิน 6 ตัน
- รถยนต์บรรทุกเกิน 12 ตัน
ประกันรถยนต์ คืออะไร มี พ.ร.บ. แล้วต้องทำเพิ่มหรือไม่
แม้จะมี พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ช่วยสร้างความอุ่นใจได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่นั่นอาจยังไม่เพียงพอ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถยนต์ย่อมมีความเสียหายไปด้วย ดังนั้นผู้ใช้รถใช้ถนนย่อมต้องการการคุ้มครองที่ครอบคลุมมากกว่า ซึ่งประกันภัยรถยนต์ ราคามีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน จึงต้องทำการเปรียบเทียบประกันรถยนต์ของแต่ละยี่ห้อให้ดี เพื่อเจอบริษัทที่คุ้มค่าและให้การดูแลที่ดีที่สุด
เบี้ยประกันรถยนต์เป็นอย่างไร มือใหม่ควรต้องเรียนรู้
เบี้ยประกัน คือจำนวนเงินที่ผู้ซื้อประกันต้องจ่ายให้บริษัทเพื่อรับความคุ้มครอง โดยมีทั้งการจ่ายเพียงครั้งเดียวและการจ่ายแบบเป็นงวดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดไว้ ทั้งยังมีราคาที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละเจ้าและประกันแต่ละประเภท
ประกันรถยนต์มีกี่ประเภท แบ่งออกได้อย่างไร
เบื้องต้นอาจสามารถแบ่งประกันรถยนต์แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด ซึ่งแต่ละอย่างมีความคุ้มครองที่แตกต่างกัน ดังนี้
ประกันชั้น 1
แม้จะมีข้อเสียที่ต้องจ่ายเบี้ยประกันในราคาแพง แต่ให้ความคุ้มครองมากที่สุด รับผิดชอบทั้งคู่กรณีและผู้เอาประกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทรัพย์สินหรือค่ารักษาพยาบาล รวมไปถึงกรณีรถหาย รถไฟไหม้ และน้ำท่วม ส่งผลให้หลายคนต่างวางใจในประกันรถยนต์ประเภทนี้มากที่สุด
ประกันชั้น 2+
ประกันชั้น 2+ จะเป็นประเภทที่คล้ายกับประกันชั้น 1 อย่างมาก แต่ไม่ช่วยคุ้มครองในเหตุการที่ไร้คู่กรณี ส่งผลให้อุบัติเหตุบางอย่าง เช่น ชนข้างทาง ชนเสาไฟ หรือ ต้นไม้ ไม่สามารถเอาประกันได้ ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของหลายคนเช่นกัน
ประกันชั้น 2
เป็นประกันภัยที่เน้นให้ความคุ้มครองคู่กรณีมากกว่า ไม่รับผิดชอบรถผู้เอาประกันไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการชนแบบมีหรือไม่มีคู่กรณีก็ตาม แต่ยังคงคุ้มครองทางร่างกายของบุคคลในรถผู้เอาประกัน นอกจากนี้ให้การรับผิดชอบในเรื่องรถหายและไฟไหม้ แต่ตัดเรื่องน้ำท่วมออกไป
ประกันชั้น 3+
ให้ความคุ้มครองตัวบุคคลภายในรถผู้เอาประกัน แต่ให้ความคุ้มครองความเสียหายของรถผู้เอาประกันในกรณีที่รถชนกันเท่านั้น รวมไปถึงเหตุการณ์น้ำท่วม นอกนั้นหากประสบเหตุแบบไร้คู่กรณี ไฟไหม้ หรือ รถหาย ไม่สามารถรับความคุ้มครองได้
ประกันชั้น 3
เป็นประกันภัยที่ไม่คุ้มครองรถของผู้เอาประกันเลย แต่ยังคงให้ความคุ้มครองคู่กรณีและบุคคลภายในรถของผู้เอาเงินประกัน ข้อเสียใหญ่ ๆ คือหากเกิดอุบัติเหตุต้องเสียค่าซ่อมแซมรถของตนเองเท่านั้น
ประกันชั้น 4
สำหรับประกันชั้น 4 เป็นรูปแบบที่หลายคนอาจไม่ค่อยได้รับรู้กันมามากนัก โดยให้ความคุ้มครองความเสียหายของทรัพย์สินรถบุคคลภายนอกเท่านั้น ไม่นับรวมอาการบาดเจ็บใด ๆ ทั้งสิ้น
เท่านี้คงทราบแล้วว่า ประกันภัยรถยนต์ และ พ.ร.บ. รถยนต์ ต่างกันอย่างไร ซึ่งควรทำเอาไว้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น แต่จะดีแค่ไหนหากเลือกใช้ยางรถยนต์ที่เสริมความปลอดภัยได้มากกว่าเดิมจากแบรนด์ของ Pirelli ที่ถูกออกแบบมาให้ยึดเกาะถนนเยี่ยมและเบรกมีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าเดิม สามารถติดตามกันได้เลยที่ Pirelli by ATV เพราะมียางคุณภาพมากมายให้เลือกใช้งาน มีขนาดครอบคลุมรถหลากหลายประเภท พร้อมประกันยางบาด ยางบวม และยางแตก ที่ผู้ขับขี่ที่ซื้อยางพิเรลลี่ 4 เส้น/ 1 ใบเสร็จ และลงทะเบียนรับสิทธิภายใน 14 วัน สามารถเคลมฟรี 1 ปี หรือระยะทาง 25,000 กิโลเมตร โดยอยู่ภายใต้เงื่อนไขของบริษัท สามารถติดตั้งได้ที่ B-Quik ทุกสาขา สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่อินบอกซ์เฟซบุ๊ก m.me/PirellibyAsiatires